คำถามที่พบบ่อย
โปรตีนจากพืช
1.1 โปรตีนจ ากพืชสําคัญอย่างไร
จากผลการวิจัยหลายฉบับ พบว่าโปรตีนจากพืชนี้นอกจากร่างกายย่อยได้ง่ายกว่าโปรตีนจากสัตว์แล้ว ยังช่วยชะลอวัยและยืดอายุขัยได้เนื่องจากไขมันอิ่มตัวน้อย ไม่มีสารเร่งเนื้อแดง รวมทั้งฮอร์โมนตกค้างที่ส่งผลเสียกับร่างกาย
1.2 โปรตีนจากพืชดีต่อร่างกายหรือไม่
โปรตีนจากพืช นอกจากจะเป็นโปรตีนที่ร่างกายย่อยสลายได้ง่ายแล้ว ยังอุดมไปด้วยใยอาหาร (ไฟเบอร์) ไฟโตนิวเทรียนท์ และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย ส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ทั้งหัวใจ สมอง และลงลึกถึงการรักษาสมดุลในระดับเซลล์
1.3 เราจะรับประทานโปรตีนจากพืชได้อย่างไร
โปรตีนจากพืชมีหลายรูปแบบ โดยเราสามารถรับประทานจากพืชต่างๆ โดยตรง หรือรับประทานผลิตภัณฑ์โปรตีนแปรรูปแบบผงชงดื่มก็ได้
1.4 รับประทานโปรตีนจากพืชอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์ครบ
เนื่องจากในพืชแต่ละชนิดมีกรดอะมิโนจําเป็นต่างชนิดกัน และพืชบางชนิดมีกรดอะมิโนจําเป็นอยู่จํากัด จึงควรรับประทาน โปรตีนจากพืช 2 ชนิดขึ้นไปเพื่อช่วยเติมเต็มกรดอะมิโนชนิดต่างๆ ให้ครบถ้วน เทียบเท่าโปรตีนจากสัตว์หรือเวย์โปรตีน
การรับประทานโปรตีนเสริม
2.1 คนเราต้องการโปรตีนวันละกี่กรัม
เกณฑ์เฉลี่ยสําหรับคนทั่วไป คือ โปรตีน1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สําหรับเด็กวัยเจริญเติบโต รวมถึงกลุ่มที่ทำกิจกรรมค่อนข้างหนักและกลุ่มนักกีฬา ความต้องการโปรตีนจะสูงขึ้นถึง1.2-1.8 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
2.2 ใครควรรับประทานโปรตีนเสริมบ้าง
โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับคนทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต เด็กที่ทำกิจกรรมหลากหลาย นักกีฬา หญิงมีครรภ์ซึ่งต้องการโปรตีนเพิ่มจากปกติวันละ 30 กรัม มารดาที่ให้นมบุตร และผู้สูงอายุ รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยบางโรค เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยฟอกไต ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยแผลกดทับ และผู้ป่วยแผลไฟไหม้ กลุ่มคนเหล่านี้จำเป็นต้องรับประทานโปรตีนเสริมเพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอ
2.3 ควรรับประทานโปรตีนเสริมในช่วงเวลาใดจึงจะดีที่สุด
รับประทานในช่วงเวลาใดก็ได้ โดยเฉพาะหลังออกกําลังกาย เพราะโปรตีนเป็นส ่วนสําคัญในการเสริมสร้าง ซ่อมแซมและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ แต่การรับประทานอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ก็ยังคงสําคัญที่สุด อย่างไรก็ตามไม่แนะนําให้รับประทานช่วงก่อนนอน เพราะร่างกายจะทํางานหนักในการย่อยโปรตีน จึงอาจทําให้นอนหลับไม่สนิท และอาจมีอาการแน่นท้องเนื่องจากอาหารย่อยได้ไม่เต็มที่
2.4 การรับประทานโปรตีนเสริมมีผลข้างเคียงอย่างไร
เนื่องจากโปรตีนเป็นสารอาหารหลักในอาหารหลัก 5 หมู่ จึงมีความจําเป็นต่อร่างกายและไม่มีผลข้างเคียงใดๆ จากการรับประทาน หากรับประทานอย่างเพียงพอและเหมาะสม
2.5 อาหารเสริมประเภทโปรตีนสามารถรับประทานในรูปแบบใดได้บ้าง (เช่น ไอศครีม เครื่องดื่มปั่น) และคุณค่าทางโภชนาการจะยังคงอยู่เหมือนชงดื่มหรือไม่
เมื่อนําผงโปรตีนไปแปรรูปในเมนูเย็นต่างๆ คุณค่าทางโภชนาการจะยังอยู่ครบ การรับประทานโปรตีนเสริมในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลายจะทําให้ได้ลิ้มลองสิ่งใหม่ๆ ไม่น่าเบื่อ พร้อมทั้งยังได้คุณประโยชน์ที่ครบถ้วนอีกด้วย
2.6 อาหารเสริมประเภทโปรตีนสามารถนำไปประกอบอาหารร้อนได้ไหม และคุณค่าทางโภชนาการจะยังคงอยู่เหมือนการชงดื่มหรือไม่
ไม่แนะนําให้นําโปรตีนไปผ่านความร้อน เนื่องจากกรดอะมิโนที่จําเป็นและวิตามินบางชนิดจะสลายไปเมื่อถูกความร้อน ซึ่งจะทำให้สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการไปอย่างน่าเสียดาย
ส่วนผสมของโปรตีน AlphaGrow
3.1 BCAA สําคัญอย่างไร
BCAA หรือ Branched-Chain Amino Acid เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ รวมทั้งฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย และป้องกันการสลายตัวของกล้ามเนื้อ เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถดูดซึมและนําไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว
3.2 MCT Oil หรือกรดไขมันสายกลางสําคัญอย่างไร
MCT Oil หรือ Medium-Chain Triglyceride Oil (กรดไขมันสายกลาง) สกัดมาจากน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะพร้าวที่ร่างกายดูดซึมและนําไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที ไม่สะสมเป็นไขมันส่วนเกิน จากผลการวิจัยพบว่า MCT Oil อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ประโยชน์ที่สําคัญที่สุด คือ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ ซึ่งหมายถึงกล้ามเนื้อทํางานได้ต่อเนื่องและเมื่อยล้าน้อยลง
การรับประทานโปรตีนเสริมในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว
4.1 คนที่เป็นภูมิแพ้หรือแพ้เลคโตสจะรับประทานโปรตีนเสริมจากพืชได้หรือไม่
คนที่แพ้แลคโตสหรือเป็นภูมิแพ้สามารถรับประทานโปรตีนเสริมที่ทำจากพืชได้ แต่คนที่แพ้ถั่วเหลืองและถั่วเปลือกแข็งชนิดต่างๆ จะไม่แนะนําให้รับประทาน
4.2 ผู้ป่วยโรคมะเร็งและเบาหวานรับประทานโปรตีนเสริมได้หรือไม่
ผู้ป่วยโรค มะเร็งหรือเบาหวานควรรับประทานโปรตีนเสริม เนื่องจากมีอาการเบื่ออาหารหรืออ่อนเพลียจากกระบวนการรักษา ทําให้ร่างกายต้องการการเสริมสร้างและฟื้นฟูเป็นอย่างมาก ผลการวิจัยพบว่า หากผู้ป่วยเบาหวานได้รับประทานโปรตีนอย่างเพียงพอเป็นอาหารเช้า ร่างกายจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตลอดวัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ AlphaGrow ไม่มีน้ำตาล ทําให้เหมาะสมกับผู้ป่วยหลายกลุ่ม
4.3 การรับประทานโปรตีนมากเกินไปจะทำให้เป็นโรคไตหรือไม่
อาหารทุกอย่าง หากร่างกายได้รับมากเกินย่อมเป็นอันตราย สําหรับโปรตีนซึ่งเป็นสารอาหารจําเป็นต่อการเจริญเติบโต หากได้รับมากเกินไป เช่น รับประทานโปรตีน 2.5-3 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้ไตทํางานหนัก ดังข้อความว่า “รับประทานโปรตีนไม่ได้ทําให้เป็นโรคไต แต่หากเป็นโรคไตจึงต้องจํากัดปริมาณโปรตีน”
การรับประทานโปรตีนเสริมในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น
5.1 โปรตีนเสริมสามารถรับประทานได้ตั้งแต่อายุเท่าใด เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปสามารถรับประทานได้หรือไม่
ในความเป็นจริงเด็กเล็กที่เริ่มรับประทานอาหารได้ก็รับประทานโปรตีนเสริมได้ เนื่องจากเปรียบได้กับการรับประทานโปรตีนในอาหารหลักแต่ละมื้อ แต่หากคุณพ่อคุณแม่คิดว่ายังไม่จำเป็นต้องเสริม เพราะปริมาณโปรตีนที่ลูกได้รับจากการรับประทานอาหารในแต่ละวันน่าจะเพียงพอเมื่อเทียบกับกิจกรรมประจำวัน เราก็แนะนําให้เด็กอายุ 6 ปี ขึ้นไปรับประทานเสริมได้ เนื่องจากเด็กวัยนี้เริ่มทำกิจกรรมต่างๆ มากมายในแต่ละวัน และสนใจรับประทานอาหารน้อยลง ดังนั้นปริมาณโปรตีนที่ได้รับจากอาหารอาจจะไม่เพียงพอ
5.2 หากเด็กรับประทานได้ จะมีหลักในการพิจารณาอย่างไรว่าลูกควรรับประทานอาหารเสริมประเภทโปรตีนหรือไม่
ควรพิจารณาจากการรับประทานอาหารซึ่งเป็นแหล่งโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม หรือไข่ หากเด็กบางคนรับประทานอาหารเหล่านี้ได้น้อยหรือไม่เพียงพอ แต่ทํากิจกรรมในแต่ละวันมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างเต็มศักยภาพ ก็สามารถพิจารณาให้รับประทานโปรตีนเสริมได้
5.3 เคยสังเกตไหมว่าเด็กบางคนออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ยังมีน้ำหนักเกินเกณฑ์และขาดโปรตีน
เด็กบางกลุ่มได้รับสารอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ไขมัน หรือน้ำตาลเกินความจำเป็นที่ต้องใช้ในแต่ละวัน แต่ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ จึงปรากฎว่าเด็กหรือนักกีฬาบางคนมีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรืออ้วน ทั้งที่ออกกำลังกายหรือฝึกซ้อมอย่างหนักเป็นประจำ
5.4 เคยสังเกตไหมว่าเด็กบางคนมีรูปร่างผอมซูบและมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งๆ ที่รับประทานอาหารได้ตามปกติ
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ คือ การได้รับพลังงานจากสารอาหารต่างๆ โดยเฉพาะโปรตีนไม่เพียงพอ จึงทำให้ร่างกายขาดพลังงาน มวลกล้ามเนื้อลดลง ร่างกายผอมซูบ กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ได้
การรับประทานโปรตีนเสริมในกลุ่มนักกีฬา
6.1 โปรตีนมีความจำเป็นต่อนักกีฬาอย่างไร
-ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ -ฟื้นฟูส่วนต่างๆ ของร่างกาย และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ -สร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้อวัยวะทำงานเป็นปกติ เมื่อเราออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะถูกใช้งานหนักมากขึ้นจนเกิดความเสียหาย ดังนั้นโปรตีนจึงจำเป็นมากในการช่วยเสริมสร้าง ซ่อมแซม และฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการแข่งขันหรือฝึกซ้อม
6.2 หากนักกีฬาได้รับโปรตีนไม่เพียงพอจะมีอาการอย่างไร
-กล้ามเนื้อเสียหาย ไม่ได้รับการซ่อมแซมและฟื้นฟู -สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ -ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายอ่อนแอ อาการบาดเจ็บหายช้า -การเจริญเติบโตและพัฒนาการไม่เป็นไปอย่างสมวัย
6.3 เมื่อนักกีฬาบาดเจ็บ โปรตีนสำคัญอย่างไร
เมื่อบาดเจ็บ โปรตีนจะเป็นส่วนสำคัญในการฟื้นฟูและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ช่วยให้ร่างกายฟื้นสภาพได้เร็วขึ้นและช่วยรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ด้วย
6.4 เมื่อต้องซ้อมกีฬาอย่างหนัก โปรตีนจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวันจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่
ไม่เพียงพอ เนื่องจากนักกีฬาต้องการโปรตีนมากกว่าคนทั่วไปประมาณ 2 เท่า โปรตีนจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม และไข่ที่รับประทานในแต่ละวันมักจะไม่เพียงพอ เนื่องจากต้องรับประทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณมาก จึงควรเสริมด้วยผลิตภัณฑ์โปรตีนที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนเพียงพอและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่